วิจารณ์ภาพยนตร์ A Clockwork Orange

A Clockwork Orange เป็นภาพยนตร์ปี 1971 โดย Stanley Kubrick ผู้กำกับผู้โด่งดัง
โปสเตอร์ภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงโลกอนาคตที่มีอาชญากรรมเต็มไปหมด ความรุนแรง เพศ ศีลธรรม สิทธิมนุษยชน เผด็จการ

ตัวอย่างภาพยนตร์

          ตัวหนังพูดถึงอนาคตที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง เราเห็นได้ชัดเจนผ่านการทดลอง แต่อีกด้านนึงที่
ขนานไปคือ จิตใจของผู้คนและสังคมแต่กลับอยู่ที่เดิม


          เห็นได้จากสภาพสังคมที่เละเทะ ไม่มีระเบียบ งานศิลปะที่มุ่งตรงแค่sex (ภาพวาด) และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือมีสังคมก็ยังมีคนที่กระทำผิดอยู่มาก ส่วนที่ชอบสุดของหนังเรื่องนี้คือ ประเด็นการแก้ไขปัญหาที่ผิดวิธี โดยหนังแสดงให้เห็นว่า นำการทดลองมาลองใช้กับคนที่ทำผิดเพื่อให้คนที่ทำผิดเกลียดความรุนแรง และจะได้เลิกกระทำการรุนแรงอีก มันเป็นการชี้นำว่าทั้งหมดนั้นคือการแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะการแก้ไขปัญหานั้นมันต้องแก้จากสังคมเสียก่อน อีกด้านนึงที่ชอบมากก็คือ การรุกล้ำสิทธิมนุษยชน การทดลองซึ่งนำมาด้วยปัญหาทางสัมคม สุดท้ายคนในสังคมก็ไม่ต่างจากหุ่นยนต์(ตามชื่อหนัง) ทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่อๆไปซึ่งเห็นได้ตอนซีนสุดท้าย (นอกจากนี้ยังตอกย้ำให้เห็นว่าตัวละครถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการเรียกคะแนนของรัฐบาลกลับมา)
ความตลกร้ายทั้งหมดของหนังนั้นถือเป็นลายเซ็นต์ของ สแตนลีย์ คูบริก ซึ่งถ้าพูดถึงลายเซ็นต์แล้ว นอกจากความตลกร้าย
เพลงประกอบยังถือเป็นลายเซ็นต์ที่เด่นชัดมากๆอีกอย่างหนึ่ง โดยในหนังเรื่องนี้คูบริกใช้เพลง
Symphony No.9 ของบีโทเฟ่นในการดำเนินเรื่อง ซึ่งถือว่าทำหน้าที่ได้ดีมากๆในการเล่าเรื่องและเชื่อมโยงประเด็นต่างๆในหนัง


สรุปได้ว่า A Clockwork Orange ถือเป็นหนังที่ทำหน้าที่ได้ดีในแง่ของการทำให้คนดูรู้สึก(อึดอัด สะอิดสะเอียน สงสาร ฯลฯ)
การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ ศิลปะ และเทคนิคการถ่ายทำที่ทำให้รู้สึกสมจริง

Comments

Popular posts from this blog

บทความสารคดี : เสือพูมา

บทความวิชาการ : กระบวนการสังเคราะห์แสง